การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

เรื่อง การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การสื่อสาร หมายถึง วิธีการต่างๆในการติดต่อระหว่างมนุษย์ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งนอกจากการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนแล้วยังรวมไปถึงการตกแต่งสถานที่ต้อนรับบุคคล การจัดนิทรรศการ การให้อาณัติสัญญาณต่างๆ การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ การประดับประทีปโคมไฟในเทศกาลต่างๆ การตีระฆังบอกเวลา และการขับร้องหรือประโคมดนตรี เป็นต้น
องค์ประกอบของการสื่อสาร
๑ บุคคล ๒ ฝ่าย คือ ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร
๒ วิธีการติดต่อ หมายถึง เครื่องในการส่งสารเรียกว่า สื่อ ได้แก่ วิธีพูด วิธีเขียน ภาพ แผนภูมิ รูปจำลอง เสียงตามสาย วิทยุ โทรทัศน์ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร สัญญาณผ่านดาวเทียม และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยมีตัวกลางในการติดต่อ คือ คลื่นเสียง
๓ เรื่องราวให้รับรู้ความหมายร่วมกันเรียกว่า สาร ซึ่งถ่ายทอดมาจากความหลัง ความรู้สึกและความทรงจำของมนุษย์

สาร คือ ความต้องการหรือความรู้สึกนึกคิดที่อยู่ในใจของผู้พูดหรือผู้เขียน ซึ่งถ่ายทอดมาเป็นคำพูดหรือเขียนลงไว้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมาย
ผู้ส่งสาร คือ ผู้พูดหรือผู้เขียน
ผู้รับสาร คือ ผู้อ่านหรือผู้ฟัง
สื่อ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการส่งสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
๑ วัจนภาษา คือภาษาที่ใช้ถ้อยคำ
๒ อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ ได้แก่
-การแสดงออกทางสีหน้า
– ท่ายืน ท่านั่ง ท่าทรงตัว ในขณะส่งสาร
– การแต่งกาย ให้เหมาะกับกาลเทศะและสภาพแวดล้อม
– การเคลื่อนไหว การใช้มือ การใช้แขนขณะพูด
– การใช้นัยน์ตา
– การใช้น้ำเสียง คำพูดคำเดียวกัน เปล่งเสียงต่างกัน จะสื่อความหมายต่างกัน
อุปสรรคของการสื่อสาร
๑ ผู้สื่อสาร ขาดความรู้ ประสบการณ์และความสนใจ มีอคติต่อสารนั้นๆ
๒ ตัวสาร มีความยาก ซับซ้อน
๓ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ชัดเจน ผิดระเบียบ ไม่ตรงเนื้อหาหรือเรื่องราว
๔ ผู้รับสาร มีลักษณะทำนองเดียวกับผู้ส่งสาร
๕ สื่อ ไม่เป็นตัวนำสารที่ดี
๖ กาลเทศะและสภาพแวดล้อม ได้แก่ เวลา สถานที่ ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารที่ดี
สรุปว่าการสื่อสารในชีวิตและสังคมนั้น โอกาสที่จะเกิดอุปสรรคการสื่อสารมีมากฉะนั้นผู้สื่อสาร กับผู้รับสารจะใจสารตรงกัน ต้องถึงพร้อมด้วยทักษะ ๔ อย่างคือ
๑ การพูด ต้องชัดเจน
๒ การฟัง ต้องตั้งใจ มีสมาธิในการจับใจความ
๓ การเขียน ต้องถูกต้อง ชัดเจน ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
๔ การอ่าน ต้องอ่านให้ถูกต้องตามข้อความ และอักขรวิธี
วิธีแก้ไขอุปสรรคของการสื่อสาร
๑ ผู้รับ-ผู้ส่งสาร หากพบว่าการสื่อสารไม่ดำเนินไปตามต้องการต้องรีบปรับปรุง
๒ ตัวสาร ควรเข้าใจว่าสารเรื่องเดียวกันอาจนำเสนอได้หลายวิธี
๓ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ต้องระมัดระวัง เลือกใช้ถ้อยคำให้ชัดเจน
๔ สื่อ บางชนิดอาจนอกวิสัยการควบคุมได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อาจหาสถานที่ใหม่
๕ กาลเทศะและสภาพแวดล้อม หากใช้เวลานานเกินไปอาจทำให้เบื่อ
การบ้าน
๑ การสื่อสาร หมายถึงอะไร
๒ การสื่อสารขั้นพื้นฐาน หมายถึงอะไร
๓ อุปสรรคในการสื่อสารจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลใดเป็นหลัก
๔ การสื่อสารประกอบด้วยส่วนที่สำคัญมีอะไรบ้าง

ใส่ความเห็น